กิจกรรมป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
1) มีระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เช่น การคัดกรองกลุ่มเสี่ยง การช่วยเหลือแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ทำให้จำนวนนักเรียน นักศึกษา ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงลดลง
2) ส่งเสริมกิจกรรมที่เหมาะสม เช่น กิจกรรมนักเรียนแกนนำ ครูแกนนำ กิจกรรมรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ (สถานศึกษาปลอดบุหรี่) กิจกรรม/ชมรม TO BE NUMBER ONE การประกวดดนตรีแข่งขันกีฬา เปิดเวทีให้แสดงออก การจัดนิทรรศการความรู้
3) การบริหารจัดการด้านสวัสดิศึกษา เช่น การขจัดมุมอับลับตา
4) มีแหล่งเรียนรู้ด้านยาเสพติด
5) มีการประสานความร่วมมือการดำเนินงานร่วมกับชุมชน ท้องถิ่น
เยาวชนกับยาเสพติด
เพื่อให้ประชาชน พ่อแม่ผู้ปกครอง ตระหนักถึงพิษภัยและโทษของยาเสพติด และช่วยกันคุ้มครอง สร้างความรัก ความอบอุ่นให้กับครอบครัวเพื่อเป็นการไม่ให้เยาวชนไทยติดยาเสพติดปัจจุบัน มีผู้ติดยาเสพติดเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนจะติดยาเสพติดมากกว่ากลุ่มคนกลุ่มอื่น และที่น่าเป็นห่วงกำลังแพร่ระบาดสู่เด็กนักเรียนวัย 9 ขวบ 10 ขวบ สาเหตุอาจเป็นเพราะถูกเพื่อนชักจูงให้ลองเสพ อยากรู้ อยากลอง ถูกล่อลวง และสาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งคือการขาดความอบอุ่นในครอบครัว ปัญหาพ่อแม่หย่าร้างกัน ผู้ใหญ่ไม่ได้สนใจดูแลหรือเป็นที่พึ่งของเด็กได้ เด็กเกิดความว้าเหว่ไม่รู้จะปรึกษาใคร เลยหันไปหายาเสพติด หรือเป็นเป้าล่อให้กับผู้ไม่ปรารถนาดีอย่างพอดี
ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาที่เป็นภัยร้ายแรงต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตส่งผลกระทบต่อสังคม เศรษฐกิจ ปันทอนความเจริญของประเทศชาติ หากประเทศใดมีประชาชนติดยาเสพติดจำนวนมาก ก็ไม่สามารถพัฒนาประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรืองได้ ยาเสพติดมีมากมายหลายชนิด ได้แก่ ฝิ่น เฮโรอีน ทินเนอร์ กัญชา ยาบ้า ยาอี สาระเหย กระท่อม และยากระตุ้นประสาทเป็นต้น แต่ละชนิดก่อให้เกิดผลร้ายแก่ร่างกายทั้งสิ้น ทำให้สุขภาพทรุดโทรมอ่อนแอ ความจำเสื่อม เสียบุคลิกภาพ และปัญหาสำคัญที่ตามมาอีกประการหนึ่ง ก็คือผู้ติดยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้นมีโอกาสติดเชื้อไวรัสเอดส์และแพร่กระจายไปยังกลุ่มผู้ผลิตยาเสพติดด้วยกัน รวมไปถึงคนกลุ่มอื่น ๆ ด้วย
แม้รัฐบาลจะประกาศสงครามกับยาเสพติดก็ตาม ก็ไม่ได้หมายความว่าการป้องกัน การปราบปรามยาเสพติดจะเป็นหน้าที่ของรัฐบาลเท่านั้น การแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นหน้าที่ของทุกฝ่ายที่จะต้องร่วมมือกัน
การปราบปรามเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ การป้องกันยังเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยการให้การศึกษาและความรู้เรื่องพิษภัยและโทษของยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง แก่ประชาชน ครู พ่อแม่ ผู้ปกครอง เด็กและเยาวชน โดยเฉพาะ พ่อ แม่ ผู้ปกครอง จะต้องเอาใจใส่ดูแลลูกหลาน ให้ความรักความอบอุ่นแก่ครอบครัว เป็นที่พึ่งของเด็กได้ เมื่อเด็กมีปัญหาสามารถจะพูดคุย ช่วยกันแก้ปัญหาให้เด็กใช้เหตุผลกับเด็ก ไม่ใช้อารมณ์ เพราะการใช้อารมณ์อาจทำให้เด็กเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจ กลุ้มใจและเตลิดออกจากบ้านไปพึ่งยาเสพติดและเสียอนาคตได้ในที่สุด "เยาวชนคืออนาคตของชาติ อย่าให้ตกเป็นทาสของยาเสพติด"
อะไรคือวัตถุเสพติด
คุณเคยเห็นป้ายตามถนนต่าง ๆ ที่เขียนไว้ว่า “ ยาเสพย์ติดอันตราย…คนขายติดคุก” คำกล่าวเขียนเพื่อให้เห็นว่ายาเสพย์ติดเป็นอันตรายต่อทุกคน ดังนั้น จึงควรให้ท่านได้ทราบถึง “ความรู้เกี่ยวกับยาเสพย์ติด” เพื่อจะช่วยให้สังคมอยู่รอดปลอดภัยจากยาเสพย์ติดอันตราย ประกอบด้วย
“ยาเสพย์ติด” หมายถึง สารเคมีหรือวัตถุชนิดใด ๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใด ๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มการเสพมากขึ้น มีอาการถอนยาเมื่อขาดยา มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงตลอดเวลา ทำให้สุขภาพทั่วไปทรุดโทรมรวมตลอดถึงพืชหรือส่วนของพืชที่เป็นผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษหรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ และสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพย์ติดให้โทษด้วย ทั้งนี้ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ตัวอย่าง ที่จัดเป็นยาเสพย์ติดให้โทษตามกฎหมาย ได้แก่ เฮโรอิน แอมเฟตตามีน และ อนุพันธ์บางตัว เช่น ฝิ่น กัญชา มอร์ฟีน และ เมทาโดน
วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หมายถึง วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิต/ประสาทที่เป็นสิ่งธรรมชาติหรือที่ได้จากสิ่งธรรมชาติ หรือเป็นวัตถุสังเคราะห์ ตามรัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ตัวอย่าง ที่จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ตามกฎหมาย ได้แก่ ไดอาซีแพม (แวเลี่ยม) เพนโตบาร์บิตาล ยาลดความอ้วนบางตัว ยานอนหลับและยาคลายกังวลสารระเหยหมายถึงสารเคมีหรือผลิตภัณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและรัฐมนตรีว่า การกระทรวงอุตสาหกรรมประกาศว่าเป็น “สารระเหย”
ตัวอย่าง ที่จัดเป็นสารระเหยตามกฎหมาย ได้แก่ ทินเนอร์ แลคเกอร์ กาวอินทรีย์ธรรมชาติ กาวอินทรีย์สังเคราะห์ ลูกโป่งวิทยาศาสตร์ ฯลฯ
เมื่อท่านได้ทราบว่าอะไรคือ “วัตถุเสพย์ติด” ขอได้โปรดหลีกเลี่ยงการใช้ที่จะทำให้เกิดการเสพติดได้ เช่น ไม่ใช้ยาลดความอ้วน ยานอนหลับ โดยไม่รับคำแนะนำจากแพทย์ ไม่เชื่อคำชักจูงจากบุคคลอื่นในการเสพสารเสพย์ติด โดยการทดลองและถ้าต้องทำงานที่ต้องสัมผัสกับสารเสพย์ติดต่างๆ เช่น สารระเหย ควรมีการป้องกันการสัมผัสถูกต้องผิวหนังและการสูดดมเข้าสู่ร่าง
หลักในการหลีกเลี่ยงและป้องกันการติดสิ่งเสพย์ติด
1. เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ ครู และคนอื่นๆ ที่น่านับถือและหวังดี
2. เมื่อมีปัญหาควรปรึกษาครอบครัว ครู หรือผู้ใหญ่ที่น่านับถือ ไม่ควรเก็บปัญหานั้นไว้หรือหาทางลืมปัญหาโดยใช้สิ่งเสพย์ติดช่วยหรือ ใช้เพื่อเป็นการประชด
3. หลีกเลี่ยงให้ห่างไกลจากผู้ติดสิ่งเสพย์ติด หรือผู้จำหน่ายสิ่งเสพย์ติด
4. ถ้าพบคนกำลังเสพสิ่งเสพย์ติด หรือจำหน่ายให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่
5. ศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของสิ่งเสพย์ติด เพื่อจะได้ป้องกันตัวและผู้ใกล้ชิดให้ห่างจากสิ่งเสพติด
6. ต้องไม่ให้ความร่วมมือเข้าไปเกี่ยวข้องกับเพื่อนที่ติดสิ่งเสพย์ติด เช่นไม่ให้ยืมเงิน
7. ไม่หลงเชื่อคำชักชวนโฆษณา หรือคำแนะนำใดๆ หรือแสดงความเก่งกล้าเกี่ยวกับการเสพสิ่งเสพย์ติด
8. ไม่ใช้ยาอันตรายทุกชนิดโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ และใช้ยาที่แพทย์แนะนำ ้ตามขนาดที่แพทย์สั่งไว้เท่านั้น
9. หากสงสัยว่าตนเองจะติดสิ่งเสพย์ติดต้องรีบแจ้งให้ผู้ใหญ่ทราบ
10. ยึดมั่นในหลักธรรมของศาสนา หรือคำสอนของศาสนาทุกศาสนา เพราะทุกศาสนามีจุดมุ่งหมายให้บุคคลประพฤติ แต่สิ่งดีงามและละเว้นความ
โครงการต่างๆ ที่สำนักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการการศึกษาที่ 1 ดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการห่างไกลยาเสพติด Drug - Free
การตรวจราชการของผู้ตรวจฯ

ดร.ชูชาติ ทรัพย์มาก ผู้ตรวจราชกระทรวงศึกษาธิการ นายสุชิน สาระจันทร์ ผอ.สบย.1 และคณะ ตรวจราชการแบบปกติ งวดที่ 2 ตรวจติดตามเรื่อง เรียนฟรี 15 ปี สถานศึกษา 3 ดี ปัญหายาเสพติดในโรงเรียน ระหว่างวันที่ 17 - 21 ส.ค.2552 ในเขตรวรราชการที่ 16 (จ.น่าน จ.แพร่ จ.พะเยา จ.เชียงราย) โดยผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อำนวยการกศน.จังหวัด ผู้อำนวยการสอศ.จังหวัด และผู้บริหารสถานศึกษา ให้การด้อนรับ
งานชุมนุมยุวกาชาดส่วนภูมิภาค สบย.1 |
นายชูชาติ ทรัพย์มาก ผู้ตรวจราชการกระทรวงได้รับมอบหมายจากปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธานพิธีเปิดงานชุมนุมยุวกาชาดส่วนภูมิภาคเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 84 พรรษา เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2552 เวลา 10.30 น. ณ ศูนย์การฝึกนักศึกษาวิชาทหารมณฑลทหารบกที่ 33 ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ โดยมี นายสุชิน สาระจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการการศึกษาที่ 1 กล่าวรายงาน จากนั้นรับชมขบวนสวนสนามของสมาชิกยุวกาชาด และการแสดงของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่ ที่สวยงามน่าประทับใจ... จดหมายข่าว1 จดหมายข่าว2
|
|